พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นพระคัมภีร์ฉบับที่มีเหตุผลหรือไม่?

คำถาม พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นพระคัมภีร์ฉบับที่มีเหตุผลหรือไม่? คำตอบ พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation (NWT หรือคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่) ถูกกำหนดโดยองค์กรแม่ของพยานพระยะโฮวาคือ (สมาคมว็อชเทาเวอร์หรือสมาคม หอสังเกตการณ์) เป็น “การแปลพระคัมภีร์บริสุทธิ์โดยตรงจากภาษาฮีบรู ภาอาหรับและภาษากรีกเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้กันในปัจจุบันนี้โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยพยานพระยะโฮวา” NTW เป็นผลงานที่ไม่เปิดเผยของ “คณะกรรมการพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation” พยานพระยะโฮวาอ้างว่าการไม่เปิดเผยในที่นี้เพื่อให้ความเชื่อถือในงานนี้เป็นของพระเจ้า แน่นอนว่าสิ่งนี้ทำให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันผู้แปลในภาระรับผิดชอบไม่ให้ผิดพลาด และป้องกันนักวิชาการที่แท้จริงซึ่งมาตรวจสอบดูใบรับรองจากสถาบันของพวกเขา พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation มีความเฉพาะตัวอยู่หนึ่งอย่างคือเป็นความพยายาม ที่จะผลิตพระคัมภีร์ที่เสร็จสมบูรณ์อย่างตั้งใจและชัดเจนโดยการแก้ไขและปรับปรุงใหม่สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะฝนการเห็นด้วยกับหลักการของกลุ่มๆ หนึ่ง พยานพระยะโอวา และสมาคมว็อชเทาเวอร์ตระหนักว่าความเชื่อของพวกเขาขัดแย้งกับพระคัมภีร์ ฉะนั้นแทนที่ จะทำให้ความเชื่อของพวกเขาสอดคล้องกับพระคัมภีร์ พวกเขาปรับเปลี่ยนพระคัมภีร์ ให้มาเห็นด้วยกับความเชื่อของพวกเขา “คณะกรรมการพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation” เปลี่ยนพระคัมภีร์ใดๆ ก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนศาสตร์ของพยานพระยะโฮวา เป็นการแสดง ให้เห็นว่าเนื่องจากฉบับใหม่ๆ ของพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ได้รับการตีพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นถูกเพิ่มเข้าไปในเนื้อหา…

คำถาม

พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นพระคัมภีร์ฉบับที่มีเหตุผลหรือไม่?

คำตอบ

พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation (NWT หรือคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลโลกใหม่) ถูกกำหนดโดยองค์กรแม่ของพยานพระยะโฮวาคือ (สมาคมว็อชเทาเวอร์หรือสมาคม หอสังเกตการณ์) เป็น “การแปลพระคัมภีร์บริสุทธิ์โดยตรงจากภาษาฮีบรู ภาอาหรับและภาษากรีกเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้กันในปัจจุบันนี้โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยพยานพระยะโฮวา” NTW เป็นผลงานที่ไม่เปิดเผยของ “คณะกรรมการพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation” พยานพระยะโฮวาอ้างว่าการไม่เปิดเผยในที่นี้เพื่อให้ความเชื่อถือในงานนี้เป็นของพระเจ้า แน่นอนว่าสิ่งนี้ทำให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันผู้แปลในภาระรับผิดชอบไม่ให้ผิดพลาด และป้องกันนักวิชาการที่แท้จริงซึ่งมาตรวจสอบดูใบรับรองจากสถาบันของพวกเขา

พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation มีความเฉพาะตัวอยู่หนึ่งอย่างคือเป็นความพยายาม ที่จะผลิตพระคัมภีร์ที่เสร็จสมบูรณ์อย่างตั้งใจและชัดเจนโดยการแก้ไขและปรับปรุงใหม่สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะฝนการเห็นด้วยกับหลักการของกลุ่มๆ หนึ่ง พยานพระยะโอวา และสมาคมว็อชเทาเวอร์ตระหนักว่าความเชื่อของพวกเขาขัดแย้งกับพระคัมภีร์ ฉะนั้นแทนที่ จะทำให้ความเชื่อของพวกเขาสอดคล้องกับพระคัมภีร์ พวกเขาปรับเปลี่ยนพระคัมภีร์ ให้มาเห็นด้วยกับความเชื่อของพวกเขา “คณะกรรมการพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation” เปลี่ยนพระคัมภีร์ใดๆ ก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนศาสตร์ของพยานพระยะโฮวา เป็นการแสดง ให้เห็นว่าเนื่องจากฉบับใหม่ๆ ของพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ได้รับการตีพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นถูกเพิ่มเข้าไปในเนื้อหา ในขณะที่คริสเตียนที่มีความเชื่อ มาจากพระคัมภีร์ดำนเนินการชี้ให้เห็นว่าพระคัมภีร์ฉบับดังกล่าวนี้โต้เถียงความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์อย่างต่อเนื่อง (ยกตัวอย่างเช่น) สมาคมว็อชเทาเวอร์จะตีพิมพ์พระคัมภีร์ New World Translation ฉบับใหม่ด้วยการเปลี่ยนเนื้อหาในพระคัมภีร์ ดังต่อไปนี้คือตัวอย่าง ที่สะดุดตาตัวอย่างของความตั้งใจที่จะปรับปรุงใหม่

พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation แปลคำศัพท์ในภาษากรีกคำว่า staurós (“กางเขน”) ว่า “การทนทุกข์ทรมานบนเสา” เพราะพยานพระยะโฮว่าไม่เชื่อว่าพระเยซูถูกตรึงที่ไม้กางเขน พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ไม่ได้แปลคำศัพท์ภาษาฮีบรูคำว่า sheol หรือคำศัพท์ ในภาษากรีกคำว่า hades, Gehenna และ tartarus ว่าคือ “นรก” เพราะพยานพระยะโฮวาไม่เชื่อว่ามีนรก NWT ใช้คำแปลว่า “ทรงพระชนม์อยู่” แทนคำว่า “เสด็จกลับมา” สำหรับคำในภาษากรีกคำว่า Parousia เพราะว่าพยานพระยะโฮว่าเชื่อว่าพระคริสต์ได้เสด็จกลับมาแล้วในต้นปีค.ศ. 1990 ในโคโลสี 1:16 NWT เพิ่มคำว่า “อื่นๆ” ทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อหาของต้นฉบับภาษากรีก พวกเขาทำอย่างนี้เพื่อที่จะให้เป็นมุมมองว่า “สิ่งอื่นๆ ทั้งหมด” ถูกสร้างโดยพระคริสต์แทนที่ จะกล่าวตามเนื้อหาคือ “ทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างโดยพระคริสต์” พวกเขาทำอย่างนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อของพวกเขาว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้าที่ถูกสร้างมา พวกเขาเชื่อแบบนั้นเพราะว่า พวกเขาปฏิเสธตรีเอกานุภาพ

การเปลี่ยนแปลงที่ผิดซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดสำหรับพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation คือยอห์น 1:1 เนื้อหาของต้นฉบับภาษากรีกอ่านว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” NWT แปลว่า “พระวาทะเป็นพระองค์หนึ่ง” นี่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการอ่านศาสนศาสตร์ซึ่งคนๆ หนึ่งได้ไตร่ตรองไว้แล้วแทนที่จะให้เนื้อหานั้นสามารถอธิบายได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่มีคำนำหน้านามที่ไม่กำหนดแน่ชัดในภาษากรีก ( ในภาษาอังกฤษ “a” หรือ “an”) ถ้ามีการใช้คำนำหน้านามที่ไม่กำหนดแน่ชัดในการแปลภาษาอังกฤษนั้นน่าจะมาจากผู้แปล สิ่งนี้เป็นที่ยอมรับได้ในหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตราบที่ไม่ได้ทำให้ความหมายของเนื้อหาเปลี่ยน

มีคำอธิบายที่ดีเยี่ยมว่าทำไมคำว่า theos ไม่มีคำนำหน้านามที่ระบุชัดเจนในยอห์น 1:1 และทำไมการแปลของพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ถึงผิดพลาด มีกฎอยู่สามข้อ ที่เราต้องเข้าใจว่าทำไม

1. ในภาษากรีกการลำดับคำในประโยคไม่ได้กำหนดการใช้คำเหมือนในภาษาอังกฤษ ในภาษาอังกฤษประโยคมีโครงสร้างที่ขึ้นอยู่กับการลำดับคำคือ ประธาน กริยา กรรม ดังนั้น “แฮรี่เรียกหมา” ไม่ได้มีค่าเท่ากับ “หมาที่มีชื่อเรียกว่าแฮรี่” แต่ในภาษากรีก หน้าที่ของคำถูกกำหนดโดยคำสุดท้ายที่อยู่ติดกับรากศัพท์ของคำ ในยอห์น 1:1 มีคำสุดท้ายในรากศัพท์ของคำว่า theo… อันหนึ่งมี “s” (theos) และอีกอันคือ “n” (theon) การลงท้ายด้วย “s” โดยธรรมดาแล้วระบุว่าเป็นคำนามที่เป็นประทานของประโยค ส่วน “n” การสิ้นสุดปกติระบุว่านามเป็นกรรมตรง

2. เมื่อนามทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มประทาน (ในภาษาอังกฤษเป็นนามที่ตามด้วยกริยา “being” เช่น “is”) คำสุดท้ายต้องคู่กับคำของนามที่มันตั้งชื่อให้ใหม่ เพื่อที่ผู้อ่านจะรู้ ว่าเป็นการระบุถึงนามตัวไหน ดังนั้น theo ต้องลงท้ายด้วย “s” เพราะเป็นการตั้งชื่อใหม่ ให้ logos ดังนั้นยอห์น 1:1 แปลได้ว่า “kai theos en ho logos.” Theos เป็นประทานหรือ logos เป็นประทาน ทั้งคู่ลงท้ายด้วย “s” จะพบคำตอบในกฎต่อไป

3. ในกรณีที่มีนามสองตัวปรากฏขึ้นมาและทั้งสองมีคำสุดท้ายคำเดียวกัน ผู้เขียนมักจะเพิ่มคำนำหน้านามที่ระบุชัดเจนให้กับคำที่เป็นประทานเพื่อกันความสับสน ยอห์นใส่คำนำหน้านามที่ระบุชัดเจนไว้ที่ logos (“โลก”) แทนคำว่า theos ฉะนั้น logos เป็นประทาน และ theos เป็นประทานในชื่อใหม่ ในภาษาอังกฤษ เป็นเหตุให้ยอห์น 1:1 อ่านว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” (แทนที่จะเป็น “พระเจ้าทรงเป็นพระวาทะ”)

หลักที่มีการเปิดเผยมากที่สุดของอคติของสมาคมว็อชเทาเวอร์คือความขัดแย้งในเทคนิคการแปล ตลอดทั้งพระกิตติคุณยอห์น คำว่า theon ในภาษากรีกเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีคำนำหน้านาม ที่ระบุชัดเจน พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ไม่ได้แปลคำเหล่านี้ว่าเป็น “พระองค์หนึ่ง” มากกว่านั้นอีกความขัดแย้งในยอห์น 1:18 NWT แปลความหมายเดียวกันของคำศัพท์ “พระเจ้า” และ “พระ” ในประโยคเดียวกัน

สมาคมว็อชเทาเวอร์ อย่างไรก็ตามไม่มีพื้นฐานต้นฉบับสำหรับการแปลคือมีเพียงแค่อคติ ในศาสนศาสตร์ของตัวเอง ในขณะที่ผู้พิทักษ์ของพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation อาจจะประสบความสำเร็จในการแสดงว่ายอห์น 1:1 สามารถที่จะแปลตามที่พวกเขาได้แปลออกมา พวกเขาไม่สามารถแสดงว่าเป็นการแปลที่เหมาะสม เช่นเดียวกันพวกเขาไม่สามาถ ที่จะอธิบายความจริงว่า NWT ไม่ได้แปลตามข้อความในภาษากรีกที่ไหนในพระกิตติคุณยอห์น ให้เป็นข้อความเดียวกัน เป็นอคติเดียวของการปฏิเสธของคนนอกศาสนาว่าพระเยซูเป็นพระเจ้านั้นบังคับให้สมาคมว็อชเทาเวอร์แปลเนื้อหาในภาษากรีกได้ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นทำให้เกิด ความผิดเพี้ยนที่จะได้มาซึ่งพระคัมภีร์ที่คล้ายกันแก่ผู้ที่ไม่สนใจความจริง

เป็นอคติเดียวของความเชื่อของคนนอกศาสนาของสมาคมว็อชเทาเวอร์ที่อยู่เบื้องหลัง ความไม่สัตย์ซื่อและการแปลที่ขัดแย้งที่เป็นพระคัมภีร์ฉบับ New World Translation พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation ไม่ได้เป็นพระคำของพระเจ้าในฉบับที่ถูกต้อง มีข้อแตกต่างรองๆ ระหว่างการแปลหลักๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษของพระคัมภีร์ ไม่มีการแปลภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามผู้ที่แปลพระคัมภีร์ท่านอื่นๆ มีข้อผิดพลาดน้อยในการแปล จากเนื้อหาภาษาฮีบรูและภาษากรีกให้เป็นภาษาอังกฤษ แต่ NWT ตั้งใจที่จะเปลี่ยนการแปล ของเนื้อหาให้สอดคล้องกับศาสนศาสตร์ของพยานพระยะโฮวา พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นความผิดปกติ ไม่ใช่การแปลของพระคัมภีร์

[English]



[กลับสู่หน้าภาษาไทย]

พระคัมภีร์ฉบับ New World Translation เป็นพระคัมภีร์ฉบับที่มีเหตุผลหรือไม่?

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.